TH | EN

ปูชนียบุคคล

Venerable Person

อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปาการ (ช่วง โลจายะ)

"
บิดาการเกษตรแม่โจ้" ผู้ก่อตั้งและสร้างสถานศึกษาแม่โจ้

ประวัติ

          พระช่วงเกษตรศิลปการ มีชื่อเดิมว่า ช่วง  โลจายะ เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2442 ที่บ้านแซ่ ต.พระประแดง   อ.พระประแดง   จ.สมุทรปราการ     บิดาชื่อ ร.อ.หลวงศรี  พลแผ้ว   ร.น. (ขาว  โลจายะ)

คุณพระช่วงสมรสกับ คุณหญิงช่วงเกษตรศิลปการ (คุณสำอางค์   ไรวา) มีบุตรธิดารวม 6 คน คือ

             1)  นางชื่นสุข    โลจายะ

             2)  แพทย์หญิงปานทิพย์    วิริยะพานิช

             3)  รศ.ดร.สิรินทร์    วิบูลย์นิยม

             4)  นายแพทย์สมชาติ    โลจายะ

             5)  พ.ต.ท. สมชัย    โลจายะ

             6)  นายชวาล      โลจายะ 

ประวัติการศึกษา

 

            1.  เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดทรงธรรม อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

            2.  มัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

            3.  ได้รับทุนกระทรวงธรรมการไปเรียนวิชาช่าง ณ สหรัฐอเมริกา แต่ระหว่างนั้นอยู่ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลเกรงจะเกิดอันตรายในการเดินทางของนักเรียนทุน จึงได้เปลี่ยนให้ฝากเรียนที่ประเทศฟิลิปปินส์ชั่วคราว ณ มหาวิทยาลัย ลอสบานโยส ประเทศฟิลิปปินส์

            4.  เรียนอยู่ได้ปีที่ 2 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2464)  รัฐบาลได้ส่งไปเรียนต่อยังสหรัฐอเมริกา  โดยศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิสดอนซิน จนจบการศึกษาได้รับปริญญาตรีและปริญญาโท (สัตวบาล) เมื่อปี พ.ศ. 2467 และกลับประเทศไทย

 

รับราชการ

            1.  ครั้งแรกบรรจุเป็นอาจารย์ประจำกระทรวงธรรมการ และแยกย้ายไปสอนอยู่โรงเรียนฝึกหัดประถมกสิกรรม (ปปก.)  ที่อำเภอบางสะพานใหญ่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี พ.ศ. 2467

            2.  พ.ศ. 2472 กระทรวงกลาโหมขอยืมตัวไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกเสบียงสัตว์  และเป็นผู้อำนวยการสอนวิชากสิกรรมแก่ทหาร

            3.  พ.ศ. 2476 กระทรวงเกษตรและพาณิชย์ได้ขอโอนตัวท่านมาสังกัดกรมตรวจกสิกรรม(กรมเกษตร) แล้วส่งท่านไปก่อตั้งสถานีทดลองกสิกรรมภาคเหนือ  ที่บ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ. เชียงใหม่

            4.  พ.ศ. 2477 กระทรวงธรรมการได้ติดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม (ปปก.) ภาคเหนือที่แม่โจ้ และขอตัวคุณพระช่วงฯ ย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ  และแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่และหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมภาคเหนือในเวลาเดียวกัน

            5.  พ.ศ. 2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมเกษตร

            6.  พ.ศ. 2492 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ (สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)

            7.  พ.ศ. 2494 เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ จึงไปรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารเกษตร (ธนาคารกรุงไทยในปัจจุบัน)

            8.  พ.ศ. 2498 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตวัฒนธรรม และผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา

            9.  พ.ศ. 2502 ครบเกษียณอายุราชการ เดินทาง กลับประเทศไทยได้เป็นข้าราชการบำนาญ

          10.  พ.ศ. 2518-2522 ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้

พระช่วงเกษตรศิลปการ  ::  ศ.ดร.วิภาค  บุญศรี  วังซ้าย
พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง  โลจายะ) และ
คุณหญิงสำอางค์  ช่วงเกษตรศิลปการ
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการและ
อดีตนายกสภาสถาบัน เทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้คนแรก

ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี วังซ้าย  ม.ว.ม. (บุญศรี วังซ้าย)
แม่โจ้ "รุ่น 1" อธิการบดีคนแรก

          ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรี วังซ้าย  ม.ว.ม. อดีตอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้   เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2459 ที่บ้านสันกลาง ต.ในเวียง อ.เมือง  จ.แพร่ เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายบุญมา และนางบัวเกี๋ยง  วังซ้าย

          ต้นตระกูลของ ศ.ดร.วิภาต  คือทวดนั้นมาจากเชียงแสน ชื่อ พระยาหัวเวียงแก้ว และบรรดาลูกชาย  ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่าน ศ.ดร.วิภาต นั้นก็คือ เจ้ามหาจักร์  เจ้ามหาชัย  เจ้ามหาเทพ  เจ้ามหาพรหม ทั้งหมดที่เอ่ยชื่อดังกล่าวถือเป็น ต้นตระกูล "วังซ้าย"

          เจ้ามหาจักร์นั้นสมรสกับธิดาของเจ้าวังซ้าย อันเป็นศักดินาเทียบวังซ้าย  วังขวา  แบบวังหน้าวังหลังเมื่อเจ้าวังซ้ายทิวงคตในเวลาต่อมา  เจ้ามหาจักร์ก็ได้รับการแต่งตั้งให้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าวังซ้ายจากเจ้าหลวง เมืองแพร่

           ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติใช้นามสกุลขึ้น ท่านจึงใช้ "วังซ้าย" เป็นนามสกุลสืบต่อมา ส่วนเจ้าคุณปู่โดยตรงของท่าน ศ.ดร.วิภาต คือเจ้ามหาชัย นั้นมีบุตรชื่อ บุญมา   วังซ้าย  คือ บิดาของท่าน ดร.วิภาต นั่นเอง

           ศ.ดร.วิภาต  มีพี่น้องรวม 8 คน ดังนี้คือ

           1. นายคำปัน      วังซ้าย       (ภายหลังเปลี่ยนสกุลเป็น "ชยันตราคาม")

           2. นางคำป้อ      วังซ้าย       (ใช้นามสกุลสามีเป็น "อินทราวุธ")

           3. นางคำป่าย     วังซ้าย       (เปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น "โสภา")

           4. นางสมนา      วังซ้าย       (ใช้นามสกุลสามีเป็น "ไพชยนต์")

           5. นางไฮ;แก้ว     วังซ้าย       (ใช้นามสกุลสามีเป็น "อนันตจิตร")

           6. นางบุญปั๋น     วังซ้าย       (ใช้นามสกุลสามีเป็น "ทิพย์วิชัย")

           7. นายบุญศรี     วังซ้าย       (ภายหลังเพิ่มชื่อเป็น วิภาต บุญศรี วังซ้าย)

           8. นางบัวเขียว    วังซ้าย       (ใช้นามสกุลสามีเป็น "โกศัยเสวี" และชื่อใหม่เป็น "อรพรรณ")

 

          ปัจจุบันพี่น้องทั้งหมดถึงแก่กรรมไปเจ็ดคน  เหลือนางบุญปั๋น   ทิพย์วิชัย พี่สาวคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่

          ชีวิตเมื่อเยาว์วัยนั้น  ท่านเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหลวง  อ.เมือง จ.แพร่  ส่วนชั้นมัธยมศึกษานั้นเรียนที่โรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่

 

          เนื่องจากครอบครัวท่านเป็นผู้ที่ฐานะดี  ประกอบกับท่านเองก็เรียนหนังสือเก่งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว   เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยม 6 จากแพร่  ท่านจึงเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่   และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2476  ท่านเรียนอยู่ที่โรงเรียนยุพราชได้เพียงปีเดียว  ก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมที่แม่โจ  ้ท่านจึงย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแมโจ้เป็นรุ่นแรก     เมื่อปี  พ.ศ.2477 ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้

 

           เมื่อเรียนจบจากแม่โจ้ พ.ศ. 2478 ได้เข้าบรรจุทำงานเป็นพนักงานยางที่หาดใหญ่  จ.สงขลา  หนึ่งปี ปีถัดมารัฐบาลได้ประกาศให้มีการสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อต่างประเทศ

 

          การสอบสัมภาษณ์ชิงทุนการศึกษาต่อต่างประเทศสมัยนั้น  โอกาสที่นักเรียนเกษตร  หรือผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดมักจะมีโอกาสแข่งขันกับผู้เรียนจบจากโรงเรียนในกรุงเทพไม่ได้       แต่เนื่องจากท่าน ศ.ดร.วิภาต  เป็นผู้มีอัธยาศัยดีชอบพบปะ พูดคุยคบค้ากับผู้อื่นเป็นประจำทำให้มีโอกาสได้ฝึกการพูด  การฟังภาษาอังกฤษจากชาวต่างประเทศที่ทำงานด้วยกัน  จึงทำให้ท่านมีความสามารถในการพูด การฟังภาษาอังกฤษได้อย่างแตกฉาน  ในระหว่างทำงานอยู่ภาคใต้

 

          ท่านสามารถสอบชิงทุนหลวงไปเรียนต่อต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย   แต่เนื่องจากระหว่างนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลจึงให้ท่านเลือกเรียนเฉพาะประเทศในเอเซียเท่านั้น  คือ  ญี่ปุ่น หรือ ฟิลิปปินส์

 

          ท่านเล่าให้ฟังอยู่ ท่านเลือกไปฟิลิปปินส์  เพราะเห็นว่าระบบการศึกษาใช้ภาษาอังกฤษ  ถ้าไปเรียนญี่ปุ่นท่านจะต้องไปเริ่มหัดเรียนญี่ปุ่นใหม่  จึงไม่เลือก ซึ่งท่านเคยพูดเสมอๆ ในเวลาต่อมาว่าน่าจะเลือกเรียนที่ญี่ปุ่นจึงจะได้ประโยชน์ยิ่ง

          ท่านศึกษาในมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์  เมืองลอสบานโยส (UPLB) สาขาเศรษฐศาสตร์  จนจบปริญญาตรีการศึกษาเป็นที่พอใจยิ่ง

 

          เมื่อสำเร็จการศึกษาจากลอสบานโยสแล้ว  ก็เดินทางด้วยเรือกลับประเทศไทย  เมือพ.ศ. 2484  และกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้  โดยรับตำแหน่งเป็นอาจารย์โดยรับตำแหน่ง  เป็นอาจารย์ผู้ปกครอง

         เนื่องจากท่านเป็นคนรักชอบชีวิต  และสนใจด้านการเมืองมาตลอด  อีกทั้งมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงมองเห็นหน่วยก้านท่านว่าน่าจะสมัครลงเล่นการเมืองมากกว่า  เพราะมีทั้งความรู้  ชาติตระกูลและความสัมพันธ์กับผู้คนทั่วไปเป็นอย่างดี

 

         พ.ศ.2489 ท่านจึงลงสมัครแข่งขันเป็นผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 2 (ครั้งแรกไม่ได้รับการเลือก)ได้สำเร็จ

         ชีวิตการเมือง และการได้เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ยุคนั้น ทำให้มีพรรคการเมืองต่าง ๆทาบทามท่านไปรวมพรรค และดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และร่วมก่อตั้งพรรคกสิกรขึ้นเป็นครั้งแรก

         อย่างไรก็ตาม  พอปี 2491 มรสุมทางการเมืองทำให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

         ท่านลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งหลังสุดใหม่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ  จึงได้อำลาชีวิตการเมืองไปทำไร่ส่วนตัวอยู่ที่ อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา  โดยเป็นเกษตรกรเต็มตัว  เพื่อผลิตผักส่งตลาดกรุงเทพฯ

         ชีวิตการทำไร่ และปลูกผักส่งตลาดกรุงเทพฯ  นั้นท่านเล่าว่าได้ทำให้ท่านเกิดประสบการณ์และเป็นเกษตรกรเต็มตัวถึง 8 ปีเต็ม

 

          พอถึง ปี พ.ศ. 2497     หลวงปราโมทย์   จรรยาวิภาต      ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอาชีวศึกษาขณะนั้น  ขอร้องให้ท่านไปช่วยแม่โจ้เพราะเป็นช่วงที่ขาดผู้บริหารโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้เพราะเสียดายวิชาความรู้ความสามารถ อยากให้ไปช่วยปรับปรุงแม่โจ้ ทานจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ ซึ่งถือว่าเป็นข้าราชการที่มียศสูงของจังหวัดเชียงใหม่ ถัดจากเป็นข้าราชการจังหวัดทีเดียวและอยู่ปกครองแม่โจ้จนวาระสุดท้ายของชีวิต

          ศ.ดร.วิภาต  สมรสกับนางสมจินต์  ตุงคพลิน  มีบุตรธิดา ดังนี้คือ

                  1. นายไพศาล     วังซ้าย

                  2. นางพัชรินทร์   สุกันศีล

                  3. น.ส.ปริศนา     วังซ้าย

                  4. นายปรัชญา     วังซ้าย

 

สรุปประวัติการศึกษาและการรับราชการ

ประวัติการศึกษา

          พ.ศ. 2475  สอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนประจำจังหวัดแพร่ "พิริยาลัย"

          พ.ศ. 2477  สอบไล่ได้มัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนประจำจังหวัดเชียงใหม่ "ยุพราชวิทยาลัย"

          พ.ศ. 2478  สอบไส่ได้ประโยคครูกสิกรรมจากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

          พ.ศ. 2479  สอบชิงทุนรัฐบาลได้ในนามของกรมเกษตรและการประมงไปเรียนวิชาเกษตร  ณ ประเทศฟิลิปปินส์

          พ.ศ. 2484  สอบได้ปริญญาตรี B.Sc. Agri. จากมหาวิทยาลัยแห่งประเทศฟิลิปปินส์ ณ ลอสบานโยน (UPLB)

          พ.ศ. 2502  สอบไล่ได้ปริญญาโท M.S. in Agriculture   จากมหาวิทยาลัย Oklahoma State University, Okla U.S.A

 

ประวัติการรับราชการ

         พ.ศ. 2479  พนักงานเกษตรกรรมผู้ช่วย ชั้น 2 แผนกยาง กองขยายการกสิกรรม กรมเกษตรและการประมง

         พ.ศ. 2485  นักเกษตรโท  เตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมเกษตรและการประมง แม่โจ้ เชียงใหม่

         พ.ศ. 2487  อาจารย์โท โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์ กรมเกษตรและการประมง

         พ.ศ. 2489   ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ลาออกราชการเพื่อรับหน้าที่ผู้แทนราษฎรได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์

         พ.ศ. 2497  กลับเข้ารับราชการ เป็นอาจารย์เอก ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ กองโรงเรียน กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

         พ.ศ. 2499  ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ แม่โจ้

         พ.ศ. 2508  เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยชั้นพิเศษวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ แม่โจ้

         พ.ศ. 2518 - 2522 ได้รับตำแหน่งอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้เชียงใหม่ (สมัยที่ 1)

         พ.ศ. 2520  ครบเกษียณอายุราชการ

         พ.ศ. 2522 ได้รับตำแหน่งอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร แม่โจ้ เชียงใหม่ (สมัยที่ 2)